การพยากรณ์ฤดูกาล ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560

วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอีอ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2559)26169297[1]
5 พฤษภาคม 2560271710357[1]
6 กรกฎาคม 256025157250[2]
8 สิงหาคม 256026147255[3]
วันที่พยากรณ์ศูนย์พยากรณ์ช่วงเวลาระบบพายุอ้างอิง
20 มกราคม 2560PAGASAมกราคม — มีนาคม1–2 ลูก[4]
PAGASAเมษายน — มิถุนายน2–4 ลูก[4]
26 มิถุนายน 2560CWB1 มกราคม — 31 ธันวาคม21–25 ลูก[5]
6 กรกฎาคม 2560PAGASAกรกฎาคม — กันยายน6–9 ลูก[6]
PAGASAตุลาคม — ธันวาคม3–5 ลูก[6]
ฤดูกาล 2560ศูนย์พยากรณ์พายุหมุนเขตร้อนพายุโซนร้อนพายุไต้ฝุ่นอ้างอิง
เกิดขึ้นจริง:JMA412711
เกิดขึ้นจริง:JTWC332612
เกิดขึ้นจริง:PAGASA22164

ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย การพยากรณ์แรกของปีถูกเผยแพร่โดย PAGASA เมื่อวันที่ 20 มกราคม ในการคาดการณ์แนวโน้มสภาพภูมิอากาศในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน[4] การคาดการณ์ดังกล่าวบันทึกว่ามีพายุหมุนเขตร้อนหนึ่งถึงสองลูกปรากฏขึ้นในระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม ขณะที่อีกสองถึงสี่ลูกจะก่อตัวขึ้นหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ในระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกงได้พยากรณ์ว่าฤดูพายุหมุนเขตร้อนปีนี้จะใกล้เคียงกับค่าปกติ คือ มีพายุหมุนเขตร้อนสี่ถึงเจ็ดลูกเข้าใกล้ในระยะ 500 กิโลเมตร (310 ไมล์) ของดินแดนโดยที่ค่าเฉลี่ยอยู่ที่หก[7]

วันที่ 5 พฤษภาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ออกคำพยากรณ์แรกสำหรับฤดูกาลนี้ โดยคาดหมายว่ากิจกรรมของฤดูนี้จะมากกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อยโดยมีพายุ 27 ลูกในระดับโซนร้อน ในจำนวนนั้นมีพายุไต้ฝุ่น 17 ลูก และในจำนวนพายุไต้ฝุ่นเป็นพายุไต้ฝุ่นรุนแรง 10 ลูก และมีการสะสมพลังงานในพายุหมุน (ACE) ที่ 357[1] ต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน สำนักสภาพอากาศกลางแห่งไต้หวัน ได้คาดการณ์ว่าฤดูกาลนี้จะเป็นปกติ โดยมีพายุ 21—25 ลูกก่อตัวขึ้นในแอ่ง โดยมีพายุสามถึงห้าลูกจะส่งผลกระทบกับไต้หวัน ต่อมาวันที่ 6 กรกฎาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดการณ์ฉบับที่สองของฤดูกาล โดยลดจำนวนที่คาดการณ์ไว้เหลือเป็นพายุโซนร้อน 25 ลูก พายุไต้ฝุ่น 15 ลูก และพายุไต้ฝุ่นรุนแรง 7 ลูก พร้อมคาดดัชนีเอซีอีที่ 250[2] ในวันเดียวกันนั้น PAGASA ก็ได้ออกประกาศฉบับที่สองและเป็นการคาดการณ์ภาพรวมฉบับสุดท้ายสำหรับช่วงเดือนกรกฎาคม – ธันวาคมเช่นกัน โดยคาดว่าจะมีพายุหกถึงเก้าลูกก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน และในเดือนตุลาคมถึงธันวาคมอีกสามถึงห้าลูก ต่อมาวันที่ 8 สิงหาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดการณ์ฉบับที่สามซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายของฤดูกาล โดยเพิ่มจำนวนพายุโซนร้อนขึ้นเป็น 26 ลูก ในจำนวนนี้ 14 ลูกจะเป็นพายุไต้ฝุ่น และ 7 ลูกอาจเป็นได้ถึงพายุไต้ฝุ่นรุนแรง และปรับลดดัชนีเอซีอีลงไปที่ 255[3]

กรมอุตุนิยมวิทยาไทย

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2560 ฉบับปรับปรุงซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน (ประกอบด้วยพายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และ พายุไต้ฝุ่น) เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน[8]

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2564 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 http://gulftoday.ae/portal/6ae68744-cd78-4427-b1c0... http://www.cma.gov.cn/en2014/news/News/201902/t201... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://www.gmanetwork.com/news/news/nation/637260/... http://m.phnompenhpost.com/national/flooded-areas-... http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRNWPForeca... http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRNWPForeca... http://www.prh.noaa.gov/guam/cyclone.php